การใช้ฟังก์ชันในการเชื่อมโยงข้อมูล (Mapping)
• ต้องมีกลยุทธในการวางข้อมูล (Placement) - ที่ที่เราจะนำบล็อกของข้อมูลวางลงในแคช
• ต้องมีกลยุทธในการแทนที่ข้อมูล(Replacement) - บล็อกที่เราจะนำข้อมูลมาแทนที่เมื่อไม่มีการพบข้อมูลที่ต้องการในแคช
• ต้องมีนโยบายในการอ่านและเขียนข้อมูล - วิธีจัดการ การอ่านและการเขียนข้อมูลลงในแคช ที่ขึ้นอยู่กับการพบ(hit) และพลาด (miss) ของข้อมูล
แคชและหน่วยความจำเสมือน
วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การเชื่อมโยงข้อมูล
ชนิดของการเชื่อมโยงข้อมูล
• การเชื่อมโยงแบบสัมพันธ์ (Associative mapping)
• การเชื่อมโยงแบบโดยตรง (Direct mapping)
• การเชื่อมโยงแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Block-set associative mapping)
การเชื่อมโยงแบบสัมพันธ์ (Associative mapping)
• เป็นวิธีการที่เร็วและยืดหยุ่นที่สุดของการจัดการกับหน่วยความจำแคช
• วิธีการจัดการหน่วยความจำแบบนี้ แคชจะเก็บทั้งแอ็ดเดรสและข้อมูลในหน่วยความจำ ซึ่งจะทำให้แคชสามารถเก็บข้อมูลจากเวิร์ดใดก็ได้จากหน่วยความจำหลัก
• การเชื่อมโยงแบบนี้เป็นวิธีการที่มีความยืดหยุ่นสูงและใช้ความจุของแคชอย่างเต็มที่
• มีจุดอ่อนหรือข้อเสียเช่นเดียวกัน คือเมื่อมีการอ่านข้อมูลของแคชในแต่ละครั้ง ฟังก์ชั่นนี้จะต้องทำการค้นหาแอ็ดเดรสทั้งหมดภายในแคชให้ตรงกับที่อ้างอิงถึง ซึ่งการอ่านหรือการค้นหาแอ็ดเดรสแบบลำดับ (Sequential) ซึ่งใช้เวลามาก
การเชื่อมโยงแบบโดยตรง (Direct mapping)
• อาจจะเรียกว่าเป็นการเชื่อมโยงแบบสุ่ม
• แอ็ดเดรสของซีพียูที่มี 15 บิต จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
• 9 บิตสำหรับเป็นอินเด็กซ์ (index)
• 6 บิตสำหรับเป็นแท็ก (tag)
• จำนวนบิตที่อยู่ในฟิลด์อินเด็กซ์จะเท่ากับจำนวนบิตที่ต้องการใช้ในการเข้าถึงหน่วยความจำแคช
• แต่ละเวิร์ดของข้อมูลในแคชจะประกอบด้วยข้อมูลจริงและแท็ก
• การเข้ามาครั้งแรกบิตของแท็กจะถูกบันทึกคู่กับข้อมูลจริง
การเชื่อมโยงแบบโดยตรง (Direct mapping)
• ฟิลด์ที่เป็นอินเด็กซ์จะถูกนำมาใช้เป็นแอ็ดเดรสสำหรับการเข้าถึงแคช
• ฟิลด์แท็กของแอ็ดเดรสที่ซีพียูต้องการจะถูกเปรียบเทียบกับ ข้อมูลแท็กที่อยู่ในแคช ถ้าข้อมูลของแท็กทั้งสองตรงกันก็จะพบข้อมูล
• ถ้าแท็กไม่ตรงกันแสดงว่าไม่พบข้อมูล จะต้องไปหาที่ต้องการในหน่วยความจำหลักต่อไป
การเชื่อมโยงแคชแบบโดยตรงสำหรับบล็อกข้อมูล 8 เวิร์ด
การเชื่อมโยงแบบกลุ่มสัมพันธ์
(Block-set associative mapping)
• แต่ละเวิร์ดที่อยู่ในแคชสามารถบันทึกข้อมูลที่มีฟิลด์ของอินเด็กซ์เหมือนกันได้มากกว่า 1 เวิร์ดขึ้นไป
• ข้อมูลจริงของแต่ละเวิร์ดนั้นจะถูกบันทึกพร้อมกับแท็กของมัน
• จำนวนของแท็กพร้อมข้อมูลในหนึ่งเวิร์ดนั้นจะถูกกำหนดเป็นกลุ่ม
วิธีการสับเปลี่ยนข้อมูล (Replacement)
• บล็อกของข้อมูลใหม่ถูกนำเข้ามาบันทึกลงในแคช ต้องมีการเขียนทับบล็อกของข้อมูลเดิม
• สำหรับแคชที่มีการเชื่อมโยงแบบโดยตรง บล็อกข้อมูลที่อยู่ในตำแหน่งของอินเด็กซ์จะถูกเขียนทับ
• สำหรับแคชที่มีการเชื่อมโยงแบบสัมพันธ์และกลุ่มสัมพันธ์จะต้องมีอัลกอริทึ่ม หรือวิธีการสับเปลี่ยนข้อมูล ช่วยในการทำงาน
วิธีการสับเปลี่ยนข้อมูล (Replacement)
• วิธีการสับเปลี่ยนแบบใช้น้อยที่สุดในปัจจุบันออกไปก่อน (LRU) เป็นการสับเปลี่ยนที่เอาบล็อกของข้อมูลที่อยู่ในแคชนานที่สุดและไม่ได้ถูกเรียกใช้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเลยออกไปก่อน
• การสับเปลี่ยนแบบเข้ามาก่อนออกก่อน (FIFO) ซึ่งจะทำการสับเปลี่ยนบล็อกของข้อมูลที่อยู่ในแคชนานที่สุดออกไปก่อน
• การสับเปลี่ยนนำข้อมูลที่ใช้จำนวนครั้งน้อยที่สุดออกไปก่อน (LFU) เป็นการสับเปลี่ยนบล็อกของข้อมูลที่มีจำนวนครั้งของการเรียกใช้งานน้อยที่สุดออกไป
• การเชื่อมโยงแบบสัมพันธ์ (Associative mapping)
• การเชื่อมโยงแบบโดยตรง (Direct mapping)
• การเชื่อมโยงแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Block-set associative mapping)
การเชื่อมโยงแบบสัมพันธ์ (Associative mapping)
• เป็นวิธีการที่เร็วและยืดหยุ่นที่สุดของการจัดการกับหน่วยความจำแคช
• วิธีการจัดการหน่วยความจำแบบนี้ แคชจะเก็บทั้งแอ็ดเดรสและข้อมูลในหน่วยความจำ ซึ่งจะทำให้แคชสามารถเก็บข้อมูลจากเวิร์ดใดก็ได้จากหน่วยความจำหลัก
• การเชื่อมโยงแบบนี้เป็นวิธีการที่มีความยืดหยุ่นสูงและใช้ความจุของแคชอย่างเต็มที่
• มีจุดอ่อนหรือข้อเสียเช่นเดียวกัน คือเมื่อมีการอ่านข้อมูลของแคชในแต่ละครั้ง ฟังก์ชั่นนี้จะต้องทำการค้นหาแอ็ดเดรสทั้งหมดภายในแคชให้ตรงกับที่อ้างอิงถึง ซึ่งการอ่านหรือการค้นหาแอ็ดเดรสแบบลำดับ (Sequential) ซึ่งใช้เวลามาก
การเชื่อมโยงแบบโดยตรง (Direct mapping)
• อาจจะเรียกว่าเป็นการเชื่อมโยงแบบสุ่ม
• แอ็ดเดรสของซีพียูที่มี 15 บิต จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
• 9 บิตสำหรับเป็นอินเด็กซ์ (index)
• 6 บิตสำหรับเป็นแท็ก (tag)
• จำนวนบิตที่อยู่ในฟิลด์อินเด็กซ์จะเท่ากับจำนวนบิตที่ต้องการใช้ในการเข้าถึงหน่วยความจำแคช
• แต่ละเวิร์ดของข้อมูลในแคชจะประกอบด้วยข้อมูลจริงและแท็ก
• การเข้ามาครั้งแรกบิตของแท็กจะถูกบันทึกคู่กับข้อมูลจริง
การเชื่อมโยงแบบโดยตรง (Direct mapping)
• ฟิลด์ที่เป็นอินเด็กซ์จะถูกนำมาใช้เป็นแอ็ดเดรสสำหรับการเข้าถึงแคช
• ฟิลด์แท็กของแอ็ดเดรสที่ซีพียูต้องการจะถูกเปรียบเทียบกับ ข้อมูลแท็กที่อยู่ในแคช ถ้าข้อมูลของแท็กทั้งสองตรงกันก็จะพบข้อมูล
• ถ้าแท็กไม่ตรงกันแสดงว่าไม่พบข้อมูล จะต้องไปหาที่ต้องการในหน่วยความจำหลักต่อไป
การเชื่อมโยงแคชแบบโดยตรงสำหรับบล็อกข้อมูล 8 เวิร์ด
การเชื่อมโยงแบบกลุ่มสัมพันธ์
(Block-set associative mapping)
• แต่ละเวิร์ดที่อยู่ในแคชสามารถบันทึกข้อมูลที่มีฟิลด์ของอินเด็กซ์เหมือนกันได้มากกว่า 1 เวิร์ดขึ้นไป
• ข้อมูลจริงของแต่ละเวิร์ดนั้นจะถูกบันทึกพร้อมกับแท็กของมัน
• จำนวนของแท็กพร้อมข้อมูลในหนึ่งเวิร์ดนั้นจะถูกกำหนดเป็นกลุ่ม
วิธีการสับเปลี่ยนข้อมูล (Replacement)
• บล็อกของข้อมูลใหม่ถูกนำเข้ามาบันทึกลงในแคช ต้องมีการเขียนทับบล็อกของข้อมูลเดิม
• สำหรับแคชที่มีการเชื่อมโยงแบบโดยตรง บล็อกข้อมูลที่อยู่ในตำแหน่งของอินเด็กซ์จะถูกเขียนทับ
• สำหรับแคชที่มีการเชื่อมโยงแบบสัมพันธ์และกลุ่มสัมพันธ์จะต้องมีอัลกอริทึ่ม หรือวิธีการสับเปลี่ยนข้อมูล ช่วยในการทำงาน
วิธีการสับเปลี่ยนข้อมูล (Replacement)
• วิธีการสับเปลี่ยนแบบใช้น้อยที่สุดในปัจจุบันออกไปก่อน (LRU) เป็นการสับเปลี่ยนที่เอาบล็อกของข้อมูลที่อยู่ในแคชนานที่สุดและไม่ได้ถูกเรียกใช้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเลยออกไปก่อน
• การสับเปลี่ยนแบบเข้ามาก่อนออกก่อน (FIFO) ซึ่งจะทำการสับเปลี่ยนบล็อกของข้อมูลที่อยู่ในแคชนานที่สุดออกไปก่อน
• การสับเปลี่ยนนำข้อมูลที่ใช้จำนวนครั้งน้อยที่สุดออกไปก่อน (LFU) เป็นการสับเปลี่ยนบล็อกของข้อมูลที่มีจำนวนครั้งของการเรียกใช้งานน้อยที่สุดออกไป
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วิธีการเขียนข้อมูล (Write Policy)
วิธีการเขียนข้อมูล (Write Policy)
• ระบบจะต้องมีการจัดการกับการเขียนข้อมูลลงในแคช
• การเขียนจะต้องถูกกระทำในเวิร์ดที่อยู่ในแคชและทำการเปลี่ยนค่าที่อยู่ในหน่วยความจำหลักด้วยเพื่อให้ข้อมูลอัปเดท
• ถ้ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้หน่วยความจำหลักมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลแล้ว แคชก็จะต้องทำการอัปเดทค่าของข้อมูลด้วย
• ในระบบที่มีซีพียูมากกว่า 1 ตัวและมีแคชแยกเป็นของตนเอง การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของแคชหนึ่งอาจทำให้ข้อมูลในแคชอื่นผิดพลาดไปด้วยถ้าไม่มีการอัปเดทข้อมูล
วิธีการเขียนข้อมูล (Write Policy)
• การเขียนทั้งหมด (Write through) เป็นวิธีที่ง่ายและใช้งานมากที่สุด คือให้มีการอัปเดทข้อมูลในหน่วยความจำหลักทุกครั้งที่มีการเขียนข้อมูลเกิดขึ้น พร้อมกับการอัปเดทข้อมูลที่อยู่ในแคชที่มีแอ็ดเดรสตรงกัน วิธีนี้จะมีข้อดีก็ตรงที่ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำหลักนั้นจะมีข้อมูลตรงกับข้อมูลที่อยู่ในแคช
• การเขียนทีหลัง (Write-back) ในวิธีนี้การปรับเปลี่ยนข้อมูลจะกระทำในแคชเท่านั้น แต่ตำแหน่งของข้อมูลดังกล่าวก็จะถูกบันทึกโดยใช้บิตพิเศษที่เรียกว่า flag ทำการกำหนดว่าเมื่อเวิร์ดนั้นถูกนำออกมาจากแคชเมื่อใด ก็จะต้องทำการอัปเดทข้อมูลในหน่วยความจำ
• ระบบจะต้องมีการจัดการกับการเขียนข้อมูลลงในแคช
• การเขียนจะต้องถูกกระทำในเวิร์ดที่อยู่ในแคชและทำการเปลี่ยนค่าที่อยู่ในหน่วยความจำหลักด้วยเพื่อให้ข้อมูลอัปเดท
• ถ้ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้หน่วยความจำหลักมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลแล้ว แคชก็จะต้องทำการอัปเดทค่าของข้อมูลด้วย
• ในระบบที่มีซีพียูมากกว่า 1 ตัวและมีแคชแยกเป็นของตนเอง การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของแคชหนึ่งอาจทำให้ข้อมูลในแคชอื่นผิดพลาดไปด้วยถ้าไม่มีการอัปเดทข้อมูล
วิธีการเขียนข้อมูล (Write Policy)
• การเขียนทั้งหมด (Write through) เป็นวิธีที่ง่ายและใช้งานมากที่สุด คือให้มีการอัปเดทข้อมูลในหน่วยความจำหลักทุกครั้งที่มีการเขียนข้อมูลเกิดขึ้น พร้อมกับการอัปเดทข้อมูลที่อยู่ในแคชที่มีแอ็ดเดรสตรงกัน วิธีนี้จะมีข้อดีก็ตรงที่ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำหลักนั้นจะมีข้อมูลตรงกับข้อมูลที่อยู่ในแคช
• การเขียนทีหลัง (Write-back) ในวิธีนี้การปรับเปลี่ยนข้อมูลจะกระทำในแคชเท่านั้น แต่ตำแหน่งของข้อมูลดังกล่าวก็จะถูกบันทึกโดยใช้บิตพิเศษที่เรียกว่า flag ทำการกำหนดว่าเมื่อเวิร์ดนั้นถูกนำออกมาจากแคชเมื่อใด ก็จะต้องทำการอัปเดทข้อมูลในหน่วยความจำ
แคช(Cache)
แคช(Cache)
หน่วยความจำแคช(Cache) เป็นหน่วยความจำที่จัดวางไว้ระหว่างซีพียูและหน่วยความจำหลักและโดยทั่วไปแล้ว เวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในแคช ก็จะมีความเร็วมากกว่าเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำหลักประมาณ 5-10 เท่า โดยหน่วยความจำแคชนี้ เป็นส่วนหนึ่งในลำดับชั้นของหน่วยความจำที่มีความเร็วที่สุด และมีความเร็วเกือบใกล้เคียงกับซีพียู ความคิดพื้นฐานคือ การเก็บคำสั่ง หรือข้อมูลที่ถูกเรียกใช้งานบ่อย ๆ ลงในแคชทำให้ค่าเฉลี่ยของการเข้าถึงข้อมูลมีค่าใกล้เคียงกับเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลในแคช
การออกแบบหน่วยความจำแคช
• ประสิทธิภาพการทำงานของแคชนั้น สามารถวัดได้จาก อัตราการพบข้อมูล หรือ hit ratio
• เมื่อซีพียูต้องการนำคำสั่งหรือข้อมูลเข้า และพบว่าข้อมูลดังกล่าวถูกเก็บไว้ใแคชแล้วนั้น เราจะเรียกขั้นตอนนี้ว่า “พบ” หรือ hit
• ถ้าไม่พบข้อมูลที่ต้องการในแคชเนื่องจากข้อมูลดังกล่าวอยู่ในหน่วยความจำหลัก เราก็จะเรียกว่า “พลาด” หรือ miss
• อัตราส่วนของจำนวนที่พบข้อมูล (hit) หารด้วยจำนวนครั้งที่ตัวประมวลผลทำการเรียกคำสั่ง หรือข้อมูล (hit บวก miss) ก็คืออัตราการพบข้อมูล หรือ hit ratio นั่นเอง
จำนวนของแคช
• แคชที่มีหลายลำดับชั้น
• แคชที่อยู่บนชิพ (On-chip cache) หรือที่เรียกว่าแคช L1
• แคชภายนอก ที่เรียกว่าแคชL2
• การใช้งานแคชแบบเก็บข้อมูลรวมหรือแยก ถ้าใช้แบบรวมข้อมูลจะมีข้อดีคือ
• การเก็บแบบรวมจะมีอัตราการพบข้อมูลมากกว่าการเก็บแบบแยก
• การออกแบบและการนำไปใช้งานในการเก็บแบบรวมจะง่ายกว่าการเก็บแบบแยก
• แนวโน้มการเก็บข้อมูลจะมุ่งไปทางการเก็บแบบแยก ซึ่งมีข้อดีตรงที่ช่วยลดการแข่งขันของแคช ในการนำข้อมูลเข้าและแปลข้อมูล
การเริ่มต้นใช้งานแคช
• เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงคอมพิวเตอร์
• เมื่อหน่วยความจำหลักโหลดโปรแกรม
• เริ่มต้นมาจากหน่วยความจำอื่น
• ใช้บิตพิเศษ (valid bit) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของแคช เนื่องจากในแคช มักมีข้อมูลขยะ
หน่วยความจำแคช(Cache) เป็นหน่วยความจำที่จัดวางไว้ระหว่างซีพียูและหน่วยความจำหลักและโดยทั่วไปแล้ว เวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในแคช ก็จะมีความเร็วมากกว่าเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำหลักประมาณ 5-10 เท่า โดยหน่วยความจำแคชนี้ เป็นส่วนหนึ่งในลำดับชั้นของหน่วยความจำที่มีความเร็วที่สุด และมีความเร็วเกือบใกล้เคียงกับซีพียู ความคิดพื้นฐานคือ การเก็บคำสั่ง หรือข้อมูลที่ถูกเรียกใช้งานบ่อย ๆ ลงในแคชทำให้ค่าเฉลี่ยของการเข้าถึงข้อมูลมีค่าใกล้เคียงกับเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลในแคช
การออกแบบหน่วยความจำแคช
• ประสิทธิภาพการทำงานของแคชนั้น สามารถวัดได้จาก อัตราการพบข้อมูล หรือ hit ratio
• เมื่อซีพียูต้องการนำคำสั่งหรือข้อมูลเข้า และพบว่าข้อมูลดังกล่าวถูกเก็บไว้ใแคชแล้วนั้น เราจะเรียกขั้นตอนนี้ว่า “พบ” หรือ hit
• ถ้าไม่พบข้อมูลที่ต้องการในแคชเนื่องจากข้อมูลดังกล่าวอยู่ในหน่วยความจำหลัก เราก็จะเรียกว่า “พลาด” หรือ miss
• อัตราส่วนของจำนวนที่พบข้อมูล (hit) หารด้วยจำนวนครั้งที่ตัวประมวลผลทำการเรียกคำสั่ง หรือข้อมูล (hit บวก miss) ก็คืออัตราการพบข้อมูล หรือ hit ratio นั่นเอง
จำนวนของแคช
• แคชที่มีหลายลำดับชั้น
• แคชที่อยู่บนชิพ (On-chip cache) หรือที่เรียกว่าแคช L1
• แคชภายนอก ที่เรียกว่าแคชL2
• การใช้งานแคชแบบเก็บข้อมูลรวมหรือแยก ถ้าใช้แบบรวมข้อมูลจะมีข้อดีคือ
• การเก็บแบบรวมจะมีอัตราการพบข้อมูลมากกว่าการเก็บแบบแยก
• การออกแบบและการนำไปใช้งานในการเก็บแบบรวมจะง่ายกว่าการเก็บแบบแยก
• แนวโน้มการเก็บข้อมูลจะมุ่งไปทางการเก็บแบบแยก ซึ่งมีข้อดีตรงที่ช่วยลดการแข่งขันของแคช ในการนำข้อมูลเข้าและแปลข้อมูล
การเริ่มต้นใช้งานแคช
• เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงคอมพิวเตอร์
• เมื่อหน่วยความจำหลักโหลดโปรแกรม
• เริ่มต้นมาจากหน่วยความจำอื่น
• ใช้บิตพิเศษ (valid bit) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของแคช เนื่องจากในแคช มักมีข้อมูลขยะ
หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)
หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)
• ใช้เทคโนโลยีของดิสก์เป็นหน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยความจำเสมือน
• หน่วยความจำประเภทดิสก์ถูกจัดอยู่ในระดับล่างของหน่วยความจำ
หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)
• หน่วยความจำเสมือน จำเป็นต้องใช้กระบวนการเชื่อมโยงข้อมูล (Mapping)
• ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่จัดสรรพื้นที่สำหรับการทำงานบนหน่วยความจำและบนดิสก์ แล้วทำการสลับเปลี่ยนไปมาเมื่อโปรแกรมต้องการ
• ข้อดีก็คือโปรแกรมสามารถมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำจริงได้ เนื่องจากมีการจัดสรรไปไว้บนดิสก์
การวางโปรแกรมทับซ้อน (Overlays)
• การใช้วิธีวางโปรแกรมทับซ้อนกัน (Overlay) ทำให้สามารถเขียนโค้ดของตัวเองทับโค้ดอื่น ๆ ได้ตามที่ต้องการ โดยโปรแกรมเมอร์จัดการ
การแบ่งออกเป็นหน้า (Paging)
• มีการแบ่งพื้นที่และแอ็ดเดรสของหน่วยความจำเสมือนออกเป็น บล็อก ๆ ที่เท่ากันที่เราจะเรียกว่า หน้า (Page)
การผิดหน้า (Page Fault)
• การผิดหน้า (Page fault) เกิดจากมีหน่วยความจำเสมือน ที่ถูกอ้างอิงถึงนั้นไม่ได้อยู่ในหน่วยความจำหลัก ทำให้เกิดกระบวนการ
• ถ้าเฟรมของหน้าใดหน้าหนึ่งถูกกำหนดว่าจะมีการเขียนโปรแกรมหรือข้อมูลทับ เนื้อหาในเฟรมหน้านั้นก็จะถูกเขียนลงในหน่วยความจำสำรอง เพื่อให้มีการบันทึกค่าดังกล่าวก่อนที่เฟรมของหน้านั้นจะถูกเขียนข้อมูลทับ
• หน้าของข้อมูลที่เราต้องการเข้าถึงและเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง จะถูกเขียนลงในหน่วยความจำหลัก (ในเฟรมหน้าที่เราได้กำหนดไว้ในข้อ 1)
• ตารางหน้า จะถูกอัปเดทข้อมูลการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยความจำเสมือน เข้ากับหน่วยความจำหลักใหม่
• ทำงานอื่น ๆ ต่อไป
ตารางหน้า (Page Table)
• ตารางหน้ามีจำนวนเรกคอร์ดเท่ากับจำนวนหน้าที่มีในหน่วยความจำเสมือน และฟิลด์ต่าง ๆ ดังนี้
• Present bit
• Disk address
• Page frame
บัพเฟอร์ค้นหาที่อยู่ (Translation Lookaside Buffer)
• ปกติเมื่อมีการอ้างถึงหน่วยความจำเสมือน จะมีการเรียกหน่วยความจำหลัก 2 ครั้ง (ทำให้ใช้เวลาเป็น 2 เท่า)
• ดึงแถวของตารางหน้า
• ดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากหน่วยความจำหลัก
• เป็นบัพเฟอร์ที่ทำหน้าที่เก็บแถวของตารางหน้าที่ใช้งานล่าสุด
• ใช้เทคโนโลยีของดิสก์เป็นหน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยความจำเสมือน
• หน่วยความจำประเภทดิสก์ถูกจัดอยู่ในระดับล่างของหน่วยความจำ
หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)
• หน่วยความจำเสมือน จำเป็นต้องใช้กระบวนการเชื่อมโยงข้อมูล (Mapping)
• ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่จัดสรรพื้นที่สำหรับการทำงานบนหน่วยความจำและบนดิสก์ แล้วทำการสลับเปลี่ยนไปมาเมื่อโปรแกรมต้องการ
• ข้อดีก็คือโปรแกรมสามารถมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำจริงได้ เนื่องจากมีการจัดสรรไปไว้บนดิสก์
การวางโปรแกรมทับซ้อน (Overlays)
• การใช้วิธีวางโปรแกรมทับซ้อนกัน (Overlay) ทำให้สามารถเขียนโค้ดของตัวเองทับโค้ดอื่น ๆ ได้ตามที่ต้องการ โดยโปรแกรมเมอร์จัดการ
การแบ่งออกเป็นหน้า (Paging)
• มีการแบ่งพื้นที่และแอ็ดเดรสของหน่วยความจำเสมือนออกเป็น บล็อก ๆ ที่เท่ากันที่เราจะเรียกว่า หน้า (Page)
การผิดหน้า (Page Fault)
• การผิดหน้า (Page fault) เกิดจากมีหน่วยความจำเสมือน ที่ถูกอ้างอิงถึงนั้นไม่ได้อยู่ในหน่วยความจำหลัก ทำให้เกิดกระบวนการ
• ถ้าเฟรมของหน้าใดหน้าหนึ่งถูกกำหนดว่าจะมีการเขียนโปรแกรมหรือข้อมูลทับ เนื้อหาในเฟรมหน้านั้นก็จะถูกเขียนลงในหน่วยความจำสำรอง เพื่อให้มีการบันทึกค่าดังกล่าวก่อนที่เฟรมของหน้านั้นจะถูกเขียนข้อมูลทับ
• หน้าของข้อมูลที่เราต้องการเข้าถึงและเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง จะถูกเขียนลงในหน่วยความจำหลัก (ในเฟรมหน้าที่เราได้กำหนดไว้ในข้อ 1)
• ตารางหน้า จะถูกอัปเดทข้อมูลการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยความจำเสมือน เข้ากับหน่วยความจำหลักใหม่
• ทำงานอื่น ๆ ต่อไป
ตารางหน้า (Page Table)
• ตารางหน้ามีจำนวนเรกคอร์ดเท่ากับจำนวนหน้าที่มีในหน่วยความจำเสมือน และฟิลด์ต่าง ๆ ดังนี้
• Present bit
• Disk address
• Page frame
บัพเฟอร์ค้นหาที่อยู่ (Translation Lookaside Buffer)
• ปกติเมื่อมีการอ้างถึงหน่วยความจำเสมือน จะมีการเรียกหน่วยความจำหลัก 2 ครั้ง (ทำให้ใช้เวลาเป็น 2 เท่า)
• ดึงแถวของตารางหน้า
• ดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากหน่วยความจำหลัก
• เป็นบัพเฟอร์ที่ทำหน้าที่เก็บแถวของตารางหน้าที่ใช้งานล่าสุด
การสับเปลี่ยนหน้า
การสับเปลี่ยนหน้า
• การพิจารณาการสับเปลี่ยนหน้าขึ้นอยู่กับหน่วยความจำและจำนวนโปรเซสที่อนุญาตให้เข้าไป
• ถ้าให้หน่วยความจำแก่โปรเซสใด ๆ น้อยเท่าไหร่ ก็จะทำให้มีจำนวนโปรเซสเข้ามาใช้งานหน่วยความจำมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ความน่าจะเป็นของระบบที่จะสามารถค้นพบโปรเซสอย่างน้อยหนึ่งโปรเซสที่พร้อมที่จะทำงานมากขึ้น ทำให้เราเสียเวลาในการสลับหน้าน้อยลง
การสับเปลี่ยนแบบมาก่อน-ออกก่อน
• หน้าที่เข้ามานานที่สุดออกก่อน
การสับเปลี่ยนแบบให้โอกาสครั้งที่สอง
• ปรับปรุงการสับเปลี่ยนแบบมาก่อนออกก่อนเพื่อป้องกันการเปลี่ยนหน้า
• ตรวจสอบบิต R (Referenced) ของหน้าที่เข้ามานานที่สุด ถ้าบิต R มีค่าเป็น 0 แสดงว่าเป็นหน้าเก่า ไม่ได้ใช้งาน ระบบจะสับเปลี่ยนทันที
• แต่ถ้าบิต R มีค่าเป็น 1 ก็กำหนดบิต R เป็น 0 แล้วกลับไปเข้าแถวใหม่ พร้อมเปลี่ยนแปลงเวลาของหน้านั้นเหมือนหน้าที่เพิ่งเข้ามาใหม่
การสับเปลี่ยนแบบวงรอบนาฬิกา
• ปรับปรุงการสับเปลี่ยนแบบให้โอกาสครั้งที่สองเพื่อลดเวลาที่ใช้ในการย้ายหน้า
• เรียงฟรมทุกเฟรมเป็นรูปวงกลม และมีเข็มนาฬิกาชี้ไปที่หน้าที่เก่าที่สุด
• เมื่อมีการผิดหน้า หน้าที่มีเข็มนาฬิกาชี้อยู่จะถูกตรวจสอบ ถ้าบิต R มีค่าเป็น 0 หน้านั้นก็จะถูกสับเปลี่ยนออกไป และหน้าใหม่ก็จะถูกใส่เข้ามาในตำแหม่งเดิม
• เข็มนาฬิกาก็จะทำการเลื่อนไปด้านหน้า 1 ตำแหน่ง
• แต่ถ้าบิต R ถูกกำหนดเป็น 1 ก็ให้ลบค่าของบิตนั้นเป็น 0 และเลื่อนเข็มไปหน้าถัดไป
การสับเปลี่ยนแบบวงรอบนาฬิกา
การสับเปลี่ยนแบบที่ดีที่สุด
“ให้เลือกสับเปลี่ยนหน้าที่จะไม่ถูกเรียกใช้งาน และมีระยะเวลารอการเรียกใช้ที่นานที่สุด”
การสับเปลี่ยนแบบที่ไม่ได้ใช้งาน-ออกก่อน
• ปรับปรุงการสับเปลี่ยนแบบวงรอบนาฬิกา โดยพิจารณาบิตสำคัญในตารางหน้า
• พิจารณาจากสถิติว่าหน้าใดกำลังถูกใช้ หรือไม่ได้ใช้งาน
• บิต R ถูกกำหนดเป็น 1 เมื่อหน้านั้นถูกเรียกใช้งาน
• บิต M ถูกกำหนดเป็น 1 เมื่อหน้านั้นมีการเปลี่ยนแปลง
• บิตทั้งสองอยู่ในแถวของตารางหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงค่าทุกครั้งเมื่อมีการใช้งาน หรือถูกอ้างอิงถึง
การสับเปลี่ยนแบบที่ไม่ได้ใช้งาน-ออกก่อน
การสับเปลี่ยนแบบใช้งานน้อยที่สุด-ออกก่อน
• มีการบันทึกเวลา
• จะสับเปลี่ยนเอาหน้าที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานออก (ตัวเลขเวลาน้อยที่สุด)
• ระบบจะต้องมีลิงค์ลิสต์ทุก ๆ หน้าในหน่วยความจำซึ่งเป็นเรื่องยากเนื่องจากจะต้องมีการลิสต์จะต้องปรับเปลี่ยนทุกครั้งที่มีการอ้างถึง
• การพิจารณาการสับเปลี่ยนหน้าขึ้นอยู่กับหน่วยความจำและจำนวนโปรเซสที่อนุญาตให้เข้าไป
• ถ้าให้หน่วยความจำแก่โปรเซสใด ๆ น้อยเท่าไหร่ ก็จะทำให้มีจำนวนโปรเซสเข้ามาใช้งานหน่วยความจำมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ความน่าจะเป็นของระบบที่จะสามารถค้นพบโปรเซสอย่างน้อยหนึ่งโปรเซสที่พร้อมที่จะทำงานมากขึ้น ทำให้เราเสียเวลาในการสลับหน้าน้อยลง
การสับเปลี่ยนแบบมาก่อน-ออกก่อน
• หน้าที่เข้ามานานที่สุดออกก่อน
การสับเปลี่ยนแบบให้โอกาสครั้งที่สอง
• ปรับปรุงการสับเปลี่ยนแบบมาก่อนออกก่อนเพื่อป้องกันการเปลี่ยนหน้า
• ตรวจสอบบิต R (Referenced) ของหน้าที่เข้ามานานที่สุด ถ้าบิต R มีค่าเป็น 0 แสดงว่าเป็นหน้าเก่า ไม่ได้ใช้งาน ระบบจะสับเปลี่ยนทันที
• แต่ถ้าบิต R มีค่าเป็น 1 ก็กำหนดบิต R เป็น 0 แล้วกลับไปเข้าแถวใหม่ พร้อมเปลี่ยนแปลงเวลาของหน้านั้นเหมือนหน้าที่เพิ่งเข้ามาใหม่
การสับเปลี่ยนแบบวงรอบนาฬิกา
• ปรับปรุงการสับเปลี่ยนแบบให้โอกาสครั้งที่สองเพื่อลดเวลาที่ใช้ในการย้ายหน้า
• เรียงฟรมทุกเฟรมเป็นรูปวงกลม และมีเข็มนาฬิกาชี้ไปที่หน้าที่เก่าที่สุด
• เมื่อมีการผิดหน้า หน้าที่มีเข็มนาฬิกาชี้อยู่จะถูกตรวจสอบ ถ้าบิต R มีค่าเป็น 0 หน้านั้นก็จะถูกสับเปลี่ยนออกไป และหน้าใหม่ก็จะถูกใส่เข้ามาในตำแหม่งเดิม
• เข็มนาฬิกาก็จะทำการเลื่อนไปด้านหน้า 1 ตำแหน่ง
• แต่ถ้าบิต R ถูกกำหนดเป็น 1 ก็ให้ลบค่าของบิตนั้นเป็น 0 และเลื่อนเข็มไปหน้าถัดไป
การสับเปลี่ยนแบบวงรอบนาฬิกา
การสับเปลี่ยนแบบที่ดีที่สุด
“ให้เลือกสับเปลี่ยนหน้าที่จะไม่ถูกเรียกใช้งาน และมีระยะเวลารอการเรียกใช้ที่นานที่สุด”
การสับเปลี่ยนแบบที่ไม่ได้ใช้งาน-ออกก่อน
• ปรับปรุงการสับเปลี่ยนแบบวงรอบนาฬิกา โดยพิจารณาบิตสำคัญในตารางหน้า
• พิจารณาจากสถิติว่าหน้าใดกำลังถูกใช้ หรือไม่ได้ใช้งาน
• บิต R ถูกกำหนดเป็น 1 เมื่อหน้านั้นถูกเรียกใช้งาน
• บิต M ถูกกำหนดเป็น 1 เมื่อหน้านั้นมีการเปลี่ยนแปลง
• บิตทั้งสองอยู่ในแถวของตารางหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงค่าทุกครั้งเมื่อมีการใช้งาน หรือถูกอ้างอิงถึง
การสับเปลี่ยนแบบที่ไม่ได้ใช้งาน-ออกก่อน
การสับเปลี่ยนแบบใช้งานน้อยที่สุด-ออกก่อน
• มีการบันทึกเวลา
• จะสับเปลี่ยนเอาหน้าที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานออก (ตัวเลขเวลาน้อยที่สุด)
• ระบบจะต้องมีลิงค์ลิสต์ทุก ๆ หน้าในหน่วยความจำซึ่งเป็นเรื่องยากเนื่องจากจะต้องมีการลิสต์จะต้องปรับเปลี่ยนทุกครั้งที่มีการอ้างถึง
การแบ่งเป็นเซ็กเมนต์
การแบ่งเป็นเซ็กเมนต์
• แบ่งโปรเซส หรือโปรแกรม ออกเป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนนั้นไม่จำเป็นต้องมีความยาวเท่ากัน (แต่อาจจะมีการกำหนดให้อยู่ภายใต้ขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่ระบบกำหนด)
• มีการแปลงแอ็ดเดรสทางตรรกเป็นแอ็ดเดรสจริงในหน่วยความจำเหมือนการแบ่งเป็นหน้าที่ต้องใช้ข้อมูล 2 ส่วน คือ เลขที่ของเซ็กเมนต์ และระยะออปเซ็ทจากเซ็กเมนต์นั้น (offset)
การนำการแบ่งเป็นเซ็กเมนต์มาใช้ในหน่วยความจำเสมือน
• อนุญาตให้โปรแกรมเมอร์สามารถมองเห็นว่าหน่วยความจำนั้นประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนเล็กๆ และชิ้นส่วนของหน่วยความจำเหล่านี้อาจจะมีขนาดไม่เท่ากัน และไม่คงที่ มีข้อดีหลาย ๆ ข้อต่อโปรแกรมเมอร์
• การจัดการกับการเพิ่มโครงสร้างของข้อมูลในโปรแกรมสามารถทำได้ง่าย
• วิธีการนี้สามารถทำให้เราเปลี่ยนแปลง หรือคอมไพล์โปรแกรมแยกออกเป็นส่วน ๆ ได้
• การแบ่งเป็นเซ็กเมนต์นี้จะอนุญาตให้มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างโปรเซสหลาย ๆ โปรเซสได้
• การแบ่งแบบนี้อนุญาตให้มีการป้องกันข้อมูลด้วยตัวเองได้
การรวมวิธีการแบ่งเป็นหน้ากับการแบ่งเซ็กเมนต์เข้าด้วยกัน
• ข้อดีของการแบ่งเป็นหน้า
• การปกปิดไม่ให้โปรแกรมเมอร์มองเห็นการทำงานของมัน
• การป้องกันการสูญเสียพื้นที่ภายนอก (external fragmentation)
• ทำให้ระบบใช้หน่วยความจำหลักอย่างมีประสิทธิภาพ
• เนื่องจากหน้าของโปรเซสที่ถูกสลับเข้าและออกจากหน่วยความจำนั้น มีขนาดคงที่และเท่ากัน จึงมีความเป็นไปได้ที่เราจะพัฒนาอัลกอริทึ่มที่ ซับซ้อนเพื่อนำไปใช้ในการจัดการกับหน่วยความจำได้
• ข้อดีของการแบ่งเป็นเซ็กเมนต์ ดังที่กล่าวก่อนหน้านี้ และ
• สามารถจัดการโครงสร้างข้อมูลที่มีขนาดไม่คงที่ได้ดี
• ทำโปรแกรมเป็นโมดูล
• สนับสนุนการแบ่งปันและการป้องกันเซ็กเมนต์
• แบ่งโปรเซส หรือโปรแกรม ออกเป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนนั้นไม่จำเป็นต้องมีความยาวเท่ากัน (แต่อาจจะมีการกำหนดให้อยู่ภายใต้ขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่ระบบกำหนด)
• มีการแปลงแอ็ดเดรสทางตรรกเป็นแอ็ดเดรสจริงในหน่วยความจำเหมือนการแบ่งเป็นหน้าที่ต้องใช้ข้อมูล 2 ส่วน คือ เลขที่ของเซ็กเมนต์ และระยะออปเซ็ทจากเซ็กเมนต์นั้น (offset)
การนำการแบ่งเป็นเซ็กเมนต์มาใช้ในหน่วยความจำเสมือน
• อนุญาตให้โปรแกรมเมอร์สามารถมองเห็นว่าหน่วยความจำนั้นประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนเล็กๆ และชิ้นส่วนของหน่วยความจำเหล่านี้อาจจะมีขนาดไม่เท่ากัน และไม่คงที่ มีข้อดีหลาย ๆ ข้อต่อโปรแกรมเมอร์
• การจัดการกับการเพิ่มโครงสร้างของข้อมูลในโปรแกรมสามารถทำได้ง่าย
• วิธีการนี้สามารถทำให้เราเปลี่ยนแปลง หรือคอมไพล์โปรแกรมแยกออกเป็นส่วน ๆ ได้
• การแบ่งเป็นเซ็กเมนต์นี้จะอนุญาตให้มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างโปรเซสหลาย ๆ โปรเซสได้
• การแบ่งแบบนี้อนุญาตให้มีการป้องกันข้อมูลด้วยตัวเองได้
การรวมวิธีการแบ่งเป็นหน้ากับการแบ่งเซ็กเมนต์เข้าด้วยกัน
• ข้อดีของการแบ่งเป็นหน้า
• การปกปิดไม่ให้โปรแกรมเมอร์มองเห็นการทำงานของมัน
• การป้องกันการสูญเสียพื้นที่ภายนอก (external fragmentation)
• ทำให้ระบบใช้หน่วยความจำหลักอย่างมีประสิทธิภาพ
• เนื่องจากหน้าของโปรเซสที่ถูกสลับเข้าและออกจากหน่วยความจำนั้น มีขนาดคงที่และเท่ากัน จึงมีความเป็นไปได้ที่เราจะพัฒนาอัลกอริทึ่มที่ ซับซ้อนเพื่อนำไปใช้ในการจัดการกับหน่วยความจำได้
• ข้อดีของการแบ่งเป็นเซ็กเมนต์ ดังที่กล่าวก่อนหน้านี้ และ
• สามารถจัดการโครงสร้างข้อมูลที่มีขนาดไม่คงที่ได้ดี
• ทำโปรแกรมเป็นโมดูล
• สนับสนุนการแบ่งปันและการป้องกันเซ็กเมนต์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)